บทที่ 214 สิ่งประดิษฐ์ที่ไร้ความหมาย (1)
สิ่งที่ไป๋เยี่ยพูดนั้นไม่ได้กล่าวออกมาโดยไร้จุดหมาย แต่แฝงไปด้วยเหตุผล เพราะว่าหลังจากที่ทักษะวิชาโรคบริเวณทวารหนักของเขาเพิ่มขึ้นเป็นเลเวลสี่ ความรู้ของเขาก็มีความเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ไหนจะแนวคิดใหม่ๆ อีก
ช่วงไม่กี่วันมานี้ ไป๋เยี่ยเอาแต่คิดเรื่องการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกิดโรคบริเวณทวารหนักว่ามีสาเหตุอย่างไรบ้าง
การแพทย์แผนปัจจุบันไม่มีคำตอบที่ชัดเจนและแม่นยำพอเกี่ยวกับโรคภัยหลายชนิด การพัฒนาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็เป็นเพียงห่วงโซ่หนึ่งในการแพทย์เท่านั้น
ซึ่งไป๋เยี่ยก็ยังคงได้แต่คิดถึงสาเหตุของเรื่องนั้นต่อไป
วันรุ่งขึ้น ไป๋เยี่ยมาเข้าร่วมการประชุมประจำปีตั้งแต่เช้าตรู่ ที่นี่ถือเป็นงานวิชาการอันยิ่งใหญ่ แล้วยังเป็นแหล่งอุดมค่าประสบการณ์อีกด้วย ไป๋เยี่ยจึงหวังว่าเขาจะได้รับแรงบันดาลใจในการฝ่าเมฆหมอกแห่งความไม่รู้ได้บ้าง
การบรรยายในวันนี้จัดขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญและศาสตราจารย์จากสาขาทวารหนักของสถาบันชั้นนำทั่วทุกมุมโลก ซึ่งเจียลี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นดฮณ๊ฯดฯฌซ,
มันเป็นการบรรยายเชิงลึกและมีความสำคัญมาก ไป๋เยี่ยจึงตั้งใจฟังและก้มหน้าก้มตาจดบันทึกอย่างพิถีพิถัน
ทักษะที่มีเลเวลสูงสุดของไป๋เยี่ยในปัจจุบันคือวิชาสรีรวิทยาซึ่งอยู่ที่เลเวลหก ถือเป็นระดับปรมาจารย์ และกล่าวได้ว่าเป็นระดับที่เขาจะสร้างหลักคิด, เสนอทฤษฎีและแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นมาได้แล้ว
ตั้งแต่ที่ขึ้นเลเวลหก ไป๋เยี่ยก็ได้เห็นมุมมองและความเข้าใจใหม่ๆ มากมายเกี่ยวกับการทำงานของโครงสร้างต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ตามหลักสรีรวิทยา
อย่างไรก็ตาม วิชาสรีรวิทยาก็เป็นวิชาที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานในวอร์ดอยู่ดี ช่วงเดือนนี้ไป๋เยี่ยเองก็ได้เรียนรู้เรื่องโรคบริเวณทวารหนักจากในแผนกมาอย่างโชกโชนเช่นกัน
ประกอบกับการศึกษาเอกสารและข้อมูลต่างๆ ทำให้ไป๋เยี่ยบังเกิดแนวคิดขึ้นมามากมาย
บางครั้งแรงบันดาลใจก็เหมือนการนอกใจ หรือฟืนแห้งๆ กับเปลวเพลิง ครั้นได้เจอะเจอก็ไม่อาจหยุดมันได้อีก
เพราะฉะนั้น เมื่อนำทักษะวิชาสรีรวิทยาเลเวลหกของไป๋เยี่ยมาผนวกเข้ากับทักษะพยาธิวิทยาเลเวลสี่ และทักษะภาคปฏิบัติในแผนกทวารหนักเลเวลสี่แล้ว ทำให้จู่ๆ ไป๋เยี่ยก็ได้รับมุมมองใหม่เกี่ยวกับทักษะวิศวกรรมจุลินทรีย์เลเวลห้า!
เพียงแต่ว่า นี่ยังคงเป็นเพียงความคิดอันโง่เขลาของไป๋เยี่ยในตอนนี้ เขาจำเป็นต้องทำความเข้าใจและศึกษาตำรับตำราของผู้เชี่ยวชาญหลากหลายคนเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ว่าความคิดของตนนั้นถูกต้องหรือไม่
การแพทย์แผนจีนไม่เน้นการรักษาโรคที่กำเริบอยู่ ทว่าเน้นการรักษาโรคที่ยังไม่เกิดโดยการป้องกันโรคนั้นไว้ แล้วจึงยับยั้งการพัฒนาต่อไปของโรคที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
การผ่าตัดถือเป็นวิธีการที่ทรงคุณค่า ทว่าก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
เวลาหนึ่งวันผ่านไปอย่างรวดเร็ว ระหว่างนี้ไป๋เยี่ยก็ได้รวบรวมข้อมูลและความรู้มากมาย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นทฤษฎีล้ำสมัยที่ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการมากหน้าหลายตาได้ทำการวิจัยมาอย่างกว้างขวาง เป็นคุณประโยชน์ที่มุ่งเน้นไปยังสาเหตุของการเกิดโรคและการพัฒนาของโรค
ไป๋เยี่ยจดบันทึกทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เพื่อความสะดวกต่อการนำมาพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ
กล่าวได้ว่า ไป๋เยี่ยได้รับประโยชน์มากมายจากแนวคิดและประสบการณ์ทางวิชาการของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ รวมถึงความเข้าใจอันลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับโรคบริเวณทวารหนัก
ทันทีที่การประชุมสิ้นสุดลง ไป๋เยี่ยก็ได้ยินเสียงแจ้งเตือนจากระบบ
[ติ๊ง! ทักษะภาคปฏิบัติ: ทักษะภาคปฏิบัติในแผนกทวารหนักสามารถอัปเกรดขึ้นเป็นเลเวล 5 ได้แล้ว!]
ไป๋เยี่ยดีใจมาก อัปเลเวลได้แล้วสินะ
การอัปเกรดทักษะภาคปฏิบัตินั้นอาศัยค่าประสบการณ์ภาคปฏิบัติจำนวนมาก บวกกับประสบการณ์จากความรู้ในแขนงนั้นๆ ที่ต้องได้รับมาอย่างพร้อมเพรียงกันจึงจะอัปเกรดได้
ช่วงเวลาระหว่างที่ไป๋เยี่ยเข้าไปฝึกงานในแผนกทวารหนัก เขาก็ได้รับประสบการณ์ภาคปฏิบัติมากมาย ทว่าสิ่งที่เขาขาดไปคือความรู้สมัยใหม่เกี่ยวกับแขนงดังกล่าว
การประชุมครั้งนี้จึงเปิดโอกาสให้ไป๋เยี่ยอย่างไม่ต้องสงสัย การประชุมดำเนินไปเป็นเวลาแปดชั่วโมง โดยมีผู้เชี่ยวชาญจำนวนสิบหกคนจากทั่วโลกขึ้นบรรยายตามลำดับ ทั้งข้อสรุปและมุมมองใหม่ๆ อันหลากหลายนั้นทำให้ไป๋เยี่ยเริ่มมีการจัดระเบียบความรู้ด้านโรคบริเวณทวารหนักให้ดูเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
การอัปเกรดทักษะขึ้นสู่เลเวลห้าสื่อให้เห็นว่าไป๋เยี่ยได้พัฒนาทักษะและแนวคิดของตนเองเกี่ยวกับโรคบริเวณทวารหนักอย่างสมบูรณ์แล้ว
ทันใดนั้น ไป๋เยี่ยก็สัมผัสได้ว่าตนเองเริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ที่แฝงตัวอยู่ในเมฆหมอกแห่งความไม่รู้นั้นแล้ว
แนวคิดของไป๋เยี่ยคือ ‘สภาพแวดล้อมภายในลำไส้และกฎของการเกิดและพัฒนาของโรคบริเวณทวารหนัก’!
ไป๋เยี่ยคิดว่าโรคบริเวณทวารหนักอาจมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมภายในลำไส้ที่อยู่ในสภาวะไม่สมดุล
เพราะว่าระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ถือเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์หลากหลายชนิด จุลินทรีย์เหล่านี้จึงถูกเรียกว่าจุลชีพในลำไส้ จากสถิติพบว่าในลำไส้มีแบคทีเรียอย่างน้อยๆ ก็มากกว่าสิบล้านล้านตัวแล้ว ซึ่งพวกมันมีผลต่อน้ำหนักตัว การย่อยอาหาร ภูมิคุ้มกันการติดเชื้อ และความเสี่ยงต่อโรคแพ้ภูมิตนเอง
‘จุลชีพในลำไส้’ เหล่านี้จะรวมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม จุลินทรีย์เหล่านี้จะคอยควบคุมและพึ่งพาซึ่งกันและกัน สร้างสมดุลในด้านคุณภาพและปริมาณของจุลินทรีย์
สมดุลพลวัต[1]ระหว่างมนุษย์และจุลินทรีย์เรียกว่าภาวะสมดุลของสุขภาพ[2] ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสมดุลของสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและปัจจัยจากโฮสต์[3] โดยปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการทำงานทางสรีรวิทยาของโฮสต์ เช่น การแย่งสารอาหารและกรเบียดอัดพื้นที่กันของจุลชีพทั่วๆ ไปเพื่อป้องกันการบุกรุกของสิ่งแปลกปลอมและรักษาสมดุลของพวกมัน อันมีสาเหตุมาจากการเกิดแบคเทอริโอซิน[4] การใช้ยาปฏิชีวนะและสารเมตาบอไลต์[5] เมื่อสภาพแวดล้อมเกิดสมดุลยภาพขึ้น กระบวนการทางสรีรวิทยาของโฮสต์ก็จะดำเนินไปได้ตามปกติ เช่น โภชนาการ ภูมิคุ้มกัน การย่อยอาหาร ฯลฯ ในขณะที่ภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้[6]อาจเกิดจากโรคเรื้อรัง โรคมะเร็ง การผ่าตัด การติดเชื้อจากสารรังสี และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม เป็นต้น
แนวคิดของไป๋เยี่ยคือต้องแก้ต้นเหตุที่แท้จริงของการเกิดและพัฒนาโรคบริเวณทวารหนัก
การเริ่มศึกษาจากบทบาทของจุลินทรีย์เหล่านี้ต่อการเกิดและพัฒนาของโรคจะเป็นไปได้หรือไม่
หลังจากที่ไป๋เยี่ยใคร่ครวญดูแล้ว เขาก็เบนความสนใจจากอาหารญี่ปุ่นเหล่านั้นที่ทั้งไม่อร่อยแถมยังให้น้อย สู้ประหยัดไปกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังดีเสียกว่า
เมื่อกลับมาถึงโรงแรม ไป๋เยี่ยก็นั่งกินบะหมี่ก่อนจะเริ่มเปิดโน้ตบุ๊กขึ้นมาค้นคว้าเพิ่มเติมทันที
พรุ่งนี้จะมีการเริ่มรายงานผลงานทางวิชาการต่างๆ ของปีนี้และสรุปแผนงานของแต่ละภาคส่วน ที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ต้องขึ้นมารายงาน
[1] สมดุลพลวัต หรือ สมดุลไดนามิก (Dynamic Equilibrium) คือ สมดุลที่มีการเคลื่อนที่ของอนุภาคอยู่ตลอดเวลา ระบบไม่หยุดนิ่ง อัตรา การเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงผันกลับ
[2] ภาวะสมดุลของสุขภาพ (Eubiosis) คือ ภาวะที่สิ่งมีชีวิตสร้างภูมิต้านทานโรค โดยมีผลมาจากการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้
[3] โฮสต์ (Host) ทางชีววิทยา คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับปรสิตเข้าสู่ร่างกาย
[4] แบคเทอริโอซิน (Bacteriocin) คือ สารพิษที่เป็นโปรตีนหรือเปปไทดิกที่ผลิตโดยแบคทีเรีย เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของสายพันธุ์แบคทีเรียที่คล้ายกัน
[5] เมตาบอไลต์ (Metabolite) คือ สารในกระบวนการสร้างและสลาย ซึ่งไม่ใช่สารที่ได้ในที่สุดของกระบวนการเมแทบอลิซึม
[6] ภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Dysbiosis) ตรงข้ามกับภาวะสมดุลของสุขภาพ เป็นภาวะที่ความสมดุลระหว่างจุลินทรีย์ดีและไม่ดีในลำไส้เกิดความบุตร