บทที่ 19 ตัดสินใจเกมใหม่ได้แล้ว
ตามแผนของเฉินโม่เขายังคงมุ่งเน้นไปที่เกมมือถือและเกมคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ไม่สนใจเกมบนเว็บไซต์
ในโลกก่อนตอนที่เกมบนเว็บไซต์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเคยรับความนิยมอย่างไม่มีสิ้นสุด แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือเกมบนเว็บได้รับความนิยมภายในสภาพแวดล้อมและในหมู่ผู้เล่นเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ความสำเร็จนั้นจึงมีอายุสั้นและยากที่จะทำซ้ำ
ในชีวิตก่อนของเฉินโม่เกมบนเว็บไซต์ได้รับความนิยมเพียงสามถึงห้าปีก่อนที่จะลดลงอย่างรวดเร็ว และถูกแทนที่ด้วยเกมมือถือ และเกมมือถือก็เปลี่ยนจากคุณภาพหยาบเป็นคุณภาพสูงในช่วงเวลาอันสั้น และความเร็วนี้ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อัตราส่วนประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับราคาของเกมบนเว็บไซต์นั้นสูงมากจริงๆ แต่ถ้าไม่มีฐานผู้เล่น ทุกอย่างก็ไร้ประโยชน์ แต่ผู้เล่นในโลกนี้เป็นผู้เล่นประเภทไหนกัน
เขาเคยเห็นเกม VR ขนาดใหญ่มามากมาย คุณภาพของเกมเสมือนจริงนั้นสูงกว่าผลงานชิ้นเอกระดับ 3A ของเฉินโม่ในชีวิตที่แล้วด้วยซ้ำ แล้วจะให้คนกลุ่มนี้เล่นเกมบนเว็บไซต์เหรอ
หรือเป็นเกม ‘คลิกเพื่อส่งดาบสังหารมังกร’ ดี ถ้าเป็นอย่างนั้นคงต้องขายหน้าแล้ว
อันที่จริงแล้วสำหรับเฉินโม่ เกมมือถือคือวิวัฒนาการของเกมบนเว็บไซต์ที่ขัดขวางเกมบนเว็บไซต์ในทุกด้านโดยสิ้นเชิง
ในแง่ของความสะดวก เวลาเล่นเกมบนเว็บไซต์ในที่ทำงานต้องมาปิดหน้าเว็บด้วยความอกสั่นขวัญเเขวน แต่เกมมือถือนั้นเล่นได้ตลอดเวลา เมื่อเจ้านายมาก็แค่วางโทรศัพท์ไว้บนโต๊ะ
ส่วนในเรื่องของจอภาพ เกมบนเว็บไซต์ถูกวิธีการผลิตจำกัดเอาไว้ทำให้ต้องโหลดทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง บ่อยครั้งที่การโหลดหน้าจอไม่เสร็จสมบูรณ์ซึ่งส่งผลต่อประสบการณ์การเล่นเกมอย่างมาก
ในส่วนของวิธีเล่นเกมนั้น แบบการเล่นแบบคลาสสิกของเกมบนเว็บไซต์มาจากเกมมือถือเป็นหลัก มีวิธีเล่นเกมใหม่ๆ มากมายในกระบวนการพัฒนาเกมมือถืออย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นเกมบนเว็บไซต์จึงเป็นเกมประเภทหนึ่งที่ถูกแทนที่ด้วยเกมมือถือ ตอนนี้เฉินโม่กำลังพัฒนาเกมบนเว็บไซต์ นั่นทำให้เขารู้สึกเหมือนสมองถูกลาเตะไปซะอย่างนั้น
เฉินโม่คิดอยู่นาน เกมแรกของเขาแท้จริงแล้วคือเกมคลาสสิกจากชีวิตก่อน : ‘Plants vs. Zombies’
นี่ไม่ใช่ตัวเลือกที่ให้ผลกำไรสูงสุด แต่เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุดและระยะยาวที่สุด
ตอนนี้เฉินโม่ต้องการอะไรมากที่สุด…เงินเหรอ เขาต้องการมันมาก แต่ไม่ได้มากที่สุด
ตอนนี้เขาต้องการชื่อเสียงมากที่สุดต่างหาก ที่เฉินโม่เลือก ‘Plants vs. Zombies’ เป็นเกมแรกของเขา มีเหตุผลหลักๆ อยู่สามข้อด้วยกัน
เหตุผลที่หนึ่ง ทรัพยากรของเกมนี้ไม่ใหญ่นัก แพ็กเกจการติดตั้งมีเพียงประมาณ 100MB และสามารถควบคุมจำนวนของทรัพยากรต่างๆ ได้ภายใน 300MB (โดยทั่วไปแล้วแพ็คเกจการติดตั้งของเกม จะถูกบีบอัดเลยไม่ได้แสดงจำนวนทรัพยากรที่แท้จริง)
ยิ่งไปกว่านั้นการตั้งค่าตัวเลขของเกมนี้ค่อนข้างโปร่งใส การออกแบบด่านก็ชัดเจนมาก ด้วยความสามารถด้านการคำนวณและความสามารถด้านระดับเกมของเฉินโม่ในตอนนี้สามารถควบคุมมันได้
ในเรื่องของ Arts&Sounds ความยากหลักๆ อยู่ที่การออกแบบ แต่เฉินโม่สามารถทำการเลียนแบบได้ ซึ่งไม่ได้ยากจนเกินไป ดังนั้นสำหรับเฉินโม่แล้วนี่เป็นเกมที่ค่อนข้างควบคุมได้
เหตุผลที่สอง เฉินโม่ต้องการชื่อเสียงและเรตติ้ง การสร้างเกมเติมเงินสามารถทำเงินได้ก็จริง แต่ยากที่จะเป็นที่นิยม และมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกด่า
ในเกมแรกเฉินโม่ต้องการให้เป็นเกมที่สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัยเพื่อให้ผู้เล่นเห็นโลโก้ของเกม Thunder ให้ได้มากที่สุดให้พวกเขารู้ว่าเฉินโม่เป็นผู้ออกแบบเกม การให้ผู้เล่นทุกคนรู้จักตัวเองเป็นเป้าหมายระยะยาว จึงต้องวางแผนตั้งแต่เกมแรก
เหตุผลที่สาม ‘Plants vs. Zombies’ ดูเหมือนเรียบง่าย แต่จริงๆ แล้วเป็นเกมที่ครอบคลุมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ซึ่งทำออกมาได้ดีมากเป็นเกมที่เล่นได้นานและน่าเล่นมาก
จากการคำนวณคิดว่าใช้เวลาประมาณสามเดือนในการพัฒนาเกม โดยแต่ละเกมของเฉินโม่จะต้องให้
ผู้เล่นเล่นอย่างน้อยหนึ่งเดือนโดยที่ไม่รู้สึกเบื่อ จากมุมมองนี้ ‘Plants vs. Zombies’ สามารถบดขยี้เกมอื่นๆ ที่เล่นแบบผู้เล่นคนเดียวได้อย่างสบายๆ
นอกจากนี้ เกมนี้สามารถวางจำหน่ายบนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือได้ในเวลาเดียวกัน หมดปัญหาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบสองทาง
ในที่สุดเฉินโม่ก็ตัดสินใจได้แล้วว่าเกมแรกของ Thunder Entertainment จะเป็น ‘Plants vs. Zombies’!
เฉินโม่ยืนขึ้นและเดินไปรอบๆ Experience Store เป็นการพักไปในตัวสิบนาที จากนั้นจึงเริ่มการวิจัย และพัฒนาอย่างเป็นทางการ
เฉินโม่ไม่รีบร้อนที่จะใช้ยาฟื้นความจำเพราะยานั่นออกฤทธิ์เพียงสี่ชั่วโมง เขาต้องพยายามฟื้นความจำ ด้วยตัวเองก่อนเพื่อร่างภาพรวมของเกมนี้ ส่วนยาฟื้นความจำไว้ค่อยใช้ในส่วนที่เขาจำไม่ได้
ก่อนอื่นต้องร่างบนไฟล์ออกแบบก่อน จากนั้นกรอกกฎพื้นฐานของเกมลงในซอฟต์แวร์ตัดต่อเกม โดยตัวซอฟต์แวร์ตัดต่อเกมจะสร้างกรอบพื้นฐานของเกมให้
ในชีวิตก่อนเฉินโม่นั้นเป็นคนที่ร่างแบบบนไฟล์ได้อย่างรวดเร็วซึ่งเร็วกว่านักออกแบบคนอื่นๆ หนึ่งถึงสองเท่า การออกแบบระบบที่มีมากกว่าหนึ่งหมื่นคำ ทั้งดีไซน์ การวาดแบบจำลอง การเรียบเรียงตรรกะ การร่างแบบครั้งสุดท้าย โดยทั่วไปต้องใช้เวลาห้าถึงเจ็ดวันกว่าจะเสร็จ นอกจากนี้ยังรวมถึงระยะเวลาในการตรวจทานแก้ไขด้วย
แน่นอนว่าจำนวนไฟล์การออกแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเกม โดยทั่วไปแล้วแม้แต่เกมมือถือระดับกลางจะต้องมีไฟล์ออกแบบอย่างน้อยยี่สิบถึงสามสิบฉบับ มีทั้งขนาดใหญ่เล็กซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบที่แตกต่างกัน
ส่วนประกอบต่างๆ ของเกมและความต้องการทางทรัพยากรยิ่งมีมากขึ้นและส่วนใหญ่จะไม่พบเห็นในเกม
ในการเขียนไฟล์ออกแบบ เวลาหลักคือการคิดและพิจารณา จะต้องพิจารณาแผนการออกแบบต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบ อย่างไรก็ตามการตั้งค่าของ ‘Plants vs. Zombies’ นั้นสมบูรณ์มาก ซึ่งเฉินโม่ไม่ต้องการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ดังนั้นเขาจึงเขียนมันอย่างรวดเร็ว
เค้าโครงส่วนต่อประสาน ระบบการต่อสู้ การตั้งค่าระดับเกม พันธุ์พืช ประเภทซอมบี้ รูปแบบการเล่นพิเศษ…กรอบขนาดใหญ่สำหรับไฟล์การออกแบบแต่ละหัวข้อผ่านไปอย่างรวดเร็ว
จากนั้นเฉินโม่เริ่มค้นหาแหล่งทรัพยากรฟรีในซอฟต์แวร์ตัดต่อเกมแล้วใช้ทรัพยากรของตนเองในการดาวน์โหลด
ในเรื่องของ Fine arts resources เพื่อให้เกมนี้คงความเป็นต้นฉบับให้ได้มากที่สุด เฉินโม่ต้องร่างแบบ และตรวจสอบด้วยตัวเอง
ทรัพยากรฟรีเหล่านี้เป็นเพียงทรัพยากรทดแทน เป็นการใช้สิ่งทดแทนเพื่อไม่ให้กระทบ ต่อความก้าวหน้าของการพัฒนา เมื่อร่างแบบโดยรวมของเกมเสร็จแล้ว เฉินโม่จัดการเปลี่ยน Fine arts resources ใหม่ทั้งหมด
พื้นที่สีเขียว ต้นไม้ ซอมบี้ มี Art Material มากมายที่มีองค์ประกอบคล้ายกัน แต่มีเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้นที่ใช้งานไม่ได้หรือมีสไตล์การวาดที่แปลกประหลาด แต่อย่างไรมันก็เป็นทรัพยากรทดแทนก็พอถูๆ ไถๆ ได้อยู่บ้าง
เฉินโม่ใช้เวลาสามวันในการเขียนกรอบใหญ่ของไฟล์ออกแบบและ Art Material
ในช่วงเวลานี้เองการตรวจสอบบริษัทก็ผ่านไปได้ด้วยดี ‘Thunder Entertainment’ ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ตำแหน่งของเฉินโม่ใน Weibo และในซอฟต์แวร์ตัดต่อเกมมีตำแหน่ง ‘ผู้ก่อตั้ง Thunder Entertainment’ เพิ่มเข้ามา
แน่นอนว่าตำแหน่งในตอนนี้เป็นสิ่งเลื่อนลอยอยู่เพราะตอนนี้บริษัทเป็นเพียงเปลือกยังไม่มีผลงานอะไรเลย
ตามแผนของเฉินโม่ บริษัท Thunder Entertainment อาจแตกเป็นหลายสาขา เช่น Thunder Games, Thunder Literature, Thunder Animation, Thunder Movies เป็นต้น…
แน่นอนว่านี่เป็นเพียงแผนกลยุทธ์บางอย่างเท่านั้น หากในอนาคตมีโอกาสก็จะทำถ้าไม่มีก็ไม่ทำ ความคิดของเฉินโม่คือการทำให้เกมหยั่งรากลึกมากขึ้น ส่วนสาขาอื่นๆ อย่างเช่น วรรณกรรมและอนิเมชั่นนั้นมีประโยชน์ต่อเกมอย่างมาก แต่พวกมันไม่ใช่ทิศทางหลักของเฉินโม่
เมื่อชื่อบริษัทและโลโก้ได้รับการพิจารณาแล้ว เฉินโม่จึงโทรหาเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันเพื่อขอให้พวกเขา ช่วยทำป้าย Experience Store ให้
ประสิทธิภาพการดำเนินงานทางด้านนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ป้ายร้านจะทำเสร็จในเวลาสองวัน มีผู้เชี่ยวชาญมาติดตั้งให้ถึงที่ตรงทางเข้า Experience Store
บนป้ายมีตัวหนังสือเขียนว่า ‘Thunder Game Experience Store’ มีโลโก้ของ Thunder Entertainment อยู่ข้างๆ เฉินโม่มองดูด้วยความพึงพอใจ
หลังจากทำงานทั้งหมดนี้เสร็จสิ้นแล้ว เฉินโม่ยังคงขังตัวเองอยู่ในสตูดิโอเพื่อจัดการกับไฟล์ออกแบบและ Fine arts resources ทดแทน
ใช้เวลาอีกหนึ่งวัน กรอบขนาดใหญ่ของไฟล์ออกแบบก็เสร็จสมบูรณ์ Fine arts resources จัดหาได้แล้วหกสิบถึงเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์
…………………………………