ระบบปั้นอัจฉริยะ : Scholar’s Advanced Technological System – ตอนที่ 739 รอบที่สอง?

ตอนที่ 739 รอบที่สอง?

การแถลงข่าวของนาซาเป็นเหมือนระเบิดนิวเคลียร์ มันได้รับผลตอบรับที่รุนแรงจากนานาชาติ

จรวดบีเอฟอาร์มีความสามารถในการบรรทุกของน้ำหนัก 550 ตัน ไปยังวงโคจรต่ำของโลก!

โครงการแอรีสกำลังจะเริ่มปล่อยยานดำรงชีพไปยังดาวอังคารในอีกหนึ่งเดือน!

ประเทศจีนไม่ใช่คู่แข่งด้วยซ้ำ!

คำกล่าวของคาร์สันทุกคำแพร่ไปถึงชาวอเมริกันได้เป็นอย่างดี

สื่ออย่างนิวยอร์กไทมส์เพิ่งวิพากษ์วิจารณ์นาซาไปเมื่อไม่นานมานี้ แต่วันนี้พวกเขาดันกลับลำเสียแล้ว กลายเป็นยกย่องสเปซ-เอ็กซ์และโปรเจกต์แอรีสในทันที

การบินและอวกาศคืออนาคตของมวลมนุษยชาติ มันคือความภาคภูมิใจของคนอเมริกัน

ตั้งแต่ที่พวกเขาสามารถเอาชนะชาวรัสเซียได้จากการไปดวงจันทร์ ประเทศจีนก็เริ่มเข้าใกล้มาอย่างช้าๆ

ประชาชนต่างคิดว่าการที่นาซานั่งอยู่เฉยๆ ในขณะที่ประเทศจีนกำลังไล่ตามมาเป็นเรื่องไร้สาระสิ้นดี

พอตอนนี้ที่นาซาตัดสินใจทำอะไรสักอย่างขึ้นมา ชาวอเมริกันก็ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์อะไรพวกเขาต่อ แต่พวกเขากลับปรบมือและให้คำชมเชย

ประเทศจีนส่งคนไปดวงจันทร์ได้แล้วทำไม?

จะเอาความภาคภูมิใจของพวกเราไปเหรอ?

ขอโทษนะ พวกเราทำไปแล้วเมื่อ 60 ปีก่อนจ้ะ ตอนนี้เป้าหมายใหม่ของพวกเราคือดาวอังคาร!

ประเทศจีนยังส่งยานอวกาศไปดาวอังคารไม่ได้ด้วยซ้ำ!

หลังจากงานแถลงข่าวของนาซา สเปซ-เอ็กซ์ บลูออริจิน และกลุ่มการบินและอวกาศไฮเทคอื่นๆ ก็ออกมาแถลงข่าวของตัวเองกันบ้าง พวกเขานำเสนอความสามารถพิเศษของตัวเองในวงการการบินและอวกาศ

อย่างเช่น จรวดบีเอฟอาร์ของอีลอน มัสก์ที่ถูกทดสอบ จรวดบีอี-4 ของบลูออริจินกำลังอยู่ในการพัฒนา

บริษัทยามากมายก็เข้ามาร่วมวงในกระแสด้วย จอห์นสันแอนด์จอห์นสันประกาศ โครงการ ‘ยาชะลอการแช่แข็ง’ ที่ถูกออกแบบมาให้ป้องกันไม่ให้ของเหลวในเซลล์แช่แข็งและแตกในสภาพอุณหภูมิต่ำ

โปรเจกต์นี้ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสุขภาพสหรัฐและนาซาในฐานะโปรเจกต์รองของโปรเจกต์ห้องแช่แข็ง ที่นาซากำลังพัฒนาร่วมกับสเปซเวิกส์

มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัททางอวกาศพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ผู้คนเริ่มรู้สึกย้อนกลับไปถึงบรรยากาศของคืนหนึ่งเมื่อ 60 ปีก่อน

ยูริ กาการิน ไปอวกาศโดยยานวอสตอค 1 ในเวลา 1 ปี 7 ปีต่อจากนั้น ชาวอเมริกันจึงได้ไปเหยียบดวงจันทร์…

สื่อ BBC ของอังกฤษก็รายงานการแถลงข่าวของนาซาด้วย

เมื่อเปรียบเทียบกับความกระตือรือร้นของชาวอเมริกันแล้ว รายงานข่าวของ BBC จะมองสถานการณ์จากมุมมองที่เป็นกลางมากกว่า

ไม่ว่าอย่างไร มันก็เป็นการแข่งขันทางอวกาศระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ไม่เกี่ยวอะไรกับสหราชอาณาจักรเสียหน่อย ต่อให้พวกเขาอยากเข้าร่วม พวกเขาก็ทำไม่ได้

ในทางตรงกันข้ามกับความกระตือรือร้นของอเมริกา หลังจากที่มีงานแถลงข่าวของนาซา สื่อของจีนกลับปิดปากเงียบ

สื่อของประเทศจีนได้รับคำสั่งมาจากรัฐว่าให้นำเสนอข่าวการไปดวงจันทร์ แต่ไม่มีคาดคิดว่านาซาจะตอบกลับแบบนี้

พวกเขาไม่รู้ว่าควรจะรายงานข่าวแผนของนาซา หรือปล่อยไปเฉยๆ ดี

ถ้าพวกเขารายงานข่าวตามความเป็นจริงแล้วล่ะก็ มันจะทำให้ความสำเร็จของการไปดวงจันทร์หายไปเลยอย่างไม่ต้องสงสัย แต่การจะปล่อยข่าวนี้ไปก็ดูจะใจแคบไปหน่อย

พวกเรายังคิดว่าจะรายงานข่าวนิดหน่อยแล้วพยายามซุกข่าวไว้ใต้พรมซะ

ไม่ว่าอย่างไร นี่ไม่ใช่การตัดสินใจของหนังสือพิมพ์และช่องทีวีหลัก

แต่เป็นการตัดสินใจของทางรัฐ!

ในขณะที่สื่อกระแสหลักยังคงนั่งนิ่ง สื่อออนไลน์ฉวยโอกาสนี้ในการรายงานข่าวออนไลน์

สหรัฐอเมริกากำลังจะเริ่มดำเนินการระยะแรกของสหรัฐอเมริกาแอรีสในเดือนหน้า ข่าวเรื่องระบบดำรงชีพจึงสร้างความแตกตื่นในโซเชียลมีเดียของชาวจีน

คนส่วนใหญ่ยังรู้สึกอินไปกับชัยชนะจากการส่งคนไปดวงจันทร์ได้สำเร็จ แต่ตอนนี้ พวกเขาเบิกเนตรเต็มที่แล้ว

คู่ต่อสู้ของประเทศจีนเริ่มเตรียมตัวจะไปดาวอังคารกันแล้ว

ข่าวนี้ทำให้ในใจของคนหลายคนรู้สึกแย่

พวกเขารู้ว่าการเอาชนะพวกอเมริกันจะต้องยากแน่ๆ

บางคนก็กังวล บางคนก็มีความสุข คนที่มองโลกในแง่ลบที่ตั้งคำถามกับความสำเร็จในการไปดวงจันทร์ของสกายโกลว์ก็มีโอกาสได้ซีนพูดบ้างแล้ว

ไปดวงจันทร์ได้แล้วไงวะ!

พวกอเมริกันจะไปดาวอังคารกันแล้วโว้ย!

มุมมองแง่ลบแพร่กระจายไปทั่วประเทศ…

[อ้า…พวกคนอเมริกันกำลังวางแผนจะไปดาวอังคารกันแล้ว พวกเราเพิ่งจะได้ไปดวงจันทร์กันเอง ฉันอุตส่าห์นึกว่าพวกเราจะตามรอยพวกเขาได้ทันแล้ว ไม่คิดเลยว่าจะตามได้ห่างขนาดนี้]

[เกิดอะไรขึ้นกับพวกคนที่บอกว่าพวกเราเอาชนะพวกอเมริกันได้นะ? ไปหมกหัวที่ไหนกันแล้วล่ะ? (หัวเราะ) (หัวเราะ)]

[ฉันก็บอกไปนานแล้วว่าการไปดวงจันทร์ได้มันไม่ใช่เรื่องยากอะไรอีกแล้ว สาเหตุที่พวกประเทศตะวันตกไม่ไปดวงจันทร์กันก็เพราะเป้าหมายของพวกเขาคือดาวอังคารไง พวกเราไม่ควรภูมิใจด้วยซ้ำที่สกายโกลว์ไปดวงจันทร์ได้]

[ใช่ พวกเราควรจะไปดาวอังคารเหมือนกันนะ]

[อ้า อิจฉาจังเลย…อยากลงสมัครเข้าโครงการแอรีสจัง อันที่จริง เขาก็รับสมัครจากทั่วโลก หวังว่าฉันจะได้รับเลือกนะ]

[พวกคนที่อวดอ้างเรื่องสกายโกลว์ไปไหนกันหมดจ๊ะ? ไปหมกหัวที่ไหนกันแล้วล่ะ? (หัวเราะ) (หัวเราะ)]

ประเด็นร้อนไปไกลเกินเว่ยป๋อแล้ว มันเริ่มกลายเป็นกระแสนอกโซเชียลมีเดียเช่นกัน

อย่างเช่น มียูเซอร์ที่ไม่ออกนามโพสต์บทความวิเคราะห์ว่าทำไมประเทศจีนถึงแพ้ในการแข่งขันทางอวกาศ…

[การบินทดสอบของจรวดบีเอฟอาร์ได้ทำลายความฝันของพวกเรา เครื่องยนต์แรปเตอร์ 42 ตัวมีตัวขับดันสุญญากาศ 138 เมกะนิวตัน และยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกมากกว่าพันครั้ง มันอยู่คนละระดับกับสกายโกลว์ไปแล้ว

[นี่ถือเป็นการตบหน้ากันเต็มๆ ชาวอเมริกันกำลังแสดงให้พวกเราเห็นว่าจรวดเคมีก็ไม่ได้ตกยุคตกสมัยแต่อย่างใด เครื่องยนต์มีเทนออกซิเจนเหลวที่มีวัฏจักรเผาไหม้ในระดับโฟลว์เต็มที่ก็ต้องเป็นรูปแบบในการขับเคลื่อนที่เหมาะสมกว่าในระดับดาวเคราะห์ นี่คือวิธีที่พวกเขาจะตั้งอาณานิคมบนดาวอังคาร

[อันที่จริงแล้ว พวกเรามาคิดแบบนี้กันดีกว่า ถ้าระบบเครื่องขับดันพลังไอออนมันดีพอจริง ทำไมพวกคนอเมริกันถึงยังใช้การขับเคลื่อนพลังเคมีอยู่ล่ะ? ไม่ใช่ว่าพวกเขาสร้างเครื่องขับดันพลังไอออนไม่ได้หรอกนะ แต่เป็นเพราะพวกเรารู้ว่ามันไม่จำเป็นต่างหาก

สกายโกลว์ที่เคลมว่าตัวเองประสบความสำเร็จกำลังทำให้พวกเรายิ่งผยองและเป็นอิกนอแรนต์ ประเทศจีนพุ่งเป้าไปที่ระบบโลก-ดวงจันทร์มากเกินไป

[การประดิษฐ์เทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นเรื่องดีเสมอ แต่บางครั้ง เทคโนโลยีใหม่มันก็ใช้งานยาก…]

บทความดังกล่าวได้รับการกดไลก์หลักหมื่น มันถูกโพสต์ลงวี-มีเดีย เว่ยป๋อ และโซเชียลมีเดียอื่นๆ

ถึงแม้จะมีคนบางคนคิดว่าบทความมีอคติต่ออุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศจีน เนื่องจากถ้อยคำในแง่ลบ แต่มันก็ตรงกันกับความคิดของคนจำนวนมาก

ผู้คนต่างคิดว่า พวกเขาแพ้ในการแข่งครั้งนี้แล้ว

ระบบการขับเคลื่อนด้วยเคมีกำลังทำลายพวกเรา

ถึงแม้ชาวอเมริกันจะยังไม่ได้ปล่อยจรวด แต่ประเทศจีนก็ได้สูญเสียความหวังไปแล้ว…

…………………………………………

ระบบปั้นอัจฉริยะ : Scholar’s Advanced Technological System

ระบบปั้นอัจฉริยะ : Scholar’s Advanced Technological System

    หลังจากทุกข์ทรมาณจากลมแดดขณะทำงานภายใต้ความร้อนที่ร้อนระอุของฤดูร้อน ลู่โจวนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ยากจนแต่ขยันขันแข็งได้กลายเป็นเจ้าของระบบเทคโนโลยีขั้นสูง
ด้วยความโกงที่ระบบมอบให้ ชีวิตในรั้วมหาลัยของเขาจึงเปลี่ยนไปในข้ามคืน
ปริญญาโท? ง่ายดายยิ่ง
ปริญญาเอก? นั่นไม่ใช่ปัญหา
จากที่ไม่มีใครรู้จัก เขาได้กลายเป็นดาราดังแห่งวงการวิทยาศาสตร์อย่างรวดเร็ว
ด้วยภารกิจที่ระบบมอบให้ เขากำลังเดินอยู่บนเส้นทางผู้ชนะรางวัลโนเบล
“ระบบ แต้มแลกเป็นเงินได้ไหม?”
“ไม่ได้”
“เชี่ย งั้นนายทำไรได้!?”
“ระบบจะทำให้ท่านกลายเป็นสุดยอดนักวิชาการ
กลายเป็นผู้ปกครองเหนือมวลมนุษย์ ท่านจะเอาเงินไปทำอะไร?”

แสดงความคิดเห็น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ปรับฟอนต์

**ถ้าปรับโหมดมืดอยู่** ให้เปลี่ยนเป็นโหมดสว่าง ก่อนจะปรับสีพื้นหลัง
รีเซ็ท