สุดท้ายเหล่าครูโรงเรียนประถมแกรนท์ก็ยอมรับข้อเสนอของเทศบาลท้องถิ่น วินนี่กับครูใหญ่แกรนท์จับมือกัน บอกว่าจะกลับไปยื่นเรื่องไปที่การปกครองส่วนท้องถิ่นกับกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าผ่านแล้วก็สามารถขึ้นเงินเดือนได้เลย
ครูใหญ่แกรนท์พูดว่าหวังว่าหลังจากที่วินนี่เป็นนายกเทศมนตรีจะควบคุมราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของเมืองเสียหน่อย “คุณก็รู้ดีว่าครูอย่างเราๆ ไม่ค่อยมีโอกาสออกไปนอกเมือง การจับจ่ายของพวกเขาก็แทบจะแล้วเสร็จภายในเมืองนี้ ด้วยสถานการณ์ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตอนนี้ ค่าใช้จ่ายของพวกเขาค่อนข้างสูง”
เห็นได้ชัดว่าพวกครูก็ไม่ได้ถูกหลอกได้ง่ายๆ อุบายของวินนี่พวกเขาดูออกแล้ว และไม่ค่อยพอใจกับมาตรฐานการขึ้นเงินเดือนที่เธอเสนอให้สักเท่าไร
วินนี่พยักหน้าบอกว่าเธอจะคิดหาวิธีจัดการปัญหาพวกนี้แล้วพูดตรงๆ ว่า “เศรษฐกิจของเมืองพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากเกินไป คงเลี่ยงที่จะเกิดปัญหายิบย่อยไม่ได้ แต่ก็อย่างที่ฉันสัญญาในตอนได้รับเลือก ฉันจะทำให้ชาวเมืองที่เลือกฉันมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น โรงเรียนก็เป็นพื้นที่ในการดูแลของฉัน ฉันรับผิดชอบแน่ค่ะ”
จัดการไปได้สองเรื่อง ความกดดันเรื่องงานของวินนี่ก็ลดลงไปมาก ช่วงหลายวันให้หลังก็ไม่ได้ทำงานล่วงเวลาแล้ว ไปทำงานตามเวลา เลิกงานตามเวลา สุดสัปดาห์ก็พักผ่อน ก็ถือว่าดีทีเดียว
เสี่ยวเถียนกวาเริ่มรู้เรื่องขึ้นแล้ว เธอเริ่มติดพ่อแม่ ตอนกลางวันเวลาฉินสือโอวออกทะเลก็จะให้วินนี่ดูแล วินนี่จะพาเธอไปทำงานด้วยในเมือง ขอแค่มีของเล่นและอยู่ในสายตาพ่อแม่ เธอก็เล่นได้ทั้งวัน
หลังจากยุ่งมาหลายวัน ในที่สุดลูกปลาก็รวบรวมสำเร็จ ต่อจากนี้ก็จะแยกประเภท
แรกเริ่มลูกปลาพวกนี้จะถูกเอากลับมาแบบปนกัน แต่พอผ่านไปช่วงหนึ่ง พวกลูกปลาก็จะแยกกลุ่มกัน พวกมันจะหาพวกเดียวกันแล้วรวมกลุ่ม ขอแค่หาฝูงปลาให้เจอแล้วเอาออกไปก็พอ เทียบกันแล้วง่ายกว่าการเอาลูกปลามาจากฟาร์มปลาเสียอีก
เจ้าของฟาร์มปลาที่ฉินสือโอวทำความรู้จักมาจากงานประมูลของกรมประมงทยอยโทรมาหาเขา ให้เขาเตรียมบริเวณเพาะเลี้ยงไว้ ลูกปลากับลูกกุ้งของพวกเขาพร้อมส่งมาให้ได้แล้ว
หลังจากวางแผนดู เขาตัดสินใจที่จะเลี้ยงกุ้งกุลาดำก่อน
นิโค ตู้ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำอาศัยอยู่ที่เมืองโบราณลือเนนบูร์กทางตะวันออกของรัฐโนวาสโกเชีย ซึ่งอยู่ใกล้กับมาโฮนเบย์มาก ฟาร์มเพาะเลี้ยงของเขาก็อยู่ในมาโฮนเบย์ กุ้งกุลาดำก็เลี้ยงที่นั่น
ตอนนั้นนิโค ตู้ก็เคยบอกกับฉินสือโอวว่าเพราะมาโฮนเบย์อยู่ใกล้กับทางใต้ อุณหภูมิสูงสักหน่อย กุ้งกุลาดำค่อยๆ ปรับตัวจนชิน แต่ถ้าอยู่ที่เซนต์จอห์น เขาเองก็ไม่กล้ารับรองว่าจะรอดกี่ตัว
ฉินสือโอวเคยบอกว่าไม่มีปัญหา ขอแค่ตอนที่ส่งกุ้งมามันยังมีชีวิตอยู่ก็พอ เรื่องหลังจากนั้นเขาจะจัดการเอง
นิโค ตู้เป็นเจ้าของฟาร์มที่ค่อนข้างรับผิดชอบ แม้ว่าฉินสือโอวจะพูดแบบนั้นแล้ว แต่เขาก็ยังพยายามคิดหาวิธีเพิ่มอัตราที่กุ้งจะอยู่รอด
หลายวันมานี้เขาเร่งให้ฉินสือโอวมารับไปตลอด เพราะช่วงเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่อุณหภูมิสูงที่สุดในสี่ฤดูของนิวฟันด์แลนด์ อุณหภูมิน้ำในตอนนั้นเหมาะกับกุ้งกุลาดำมาก
ฉินสือโอวกับแซนเดอร์สเอาบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวิศวกรรมออกมา ปูดันเจเนสส์ลงทะเลไปหมดแล้ว เรื่องจริงได้พิสูจน์แล้วว่าพวกมันทนต่อสภาพแวดล้อมในแอตแลนติกเหนือมาก ตอนที่ล้อมตาข่ายทดลองเลี้ยงก็พบว่าพวกมันอยู่ได้โดยไม่มีปัญหา แซนเดอร์สเอาพวกมันปล่อยลงทะเลไปแล้ว
นิโค ตู้จ้างเรือขนส่งมาลำหนึ่งเพื่อขนลูกกุ้งกุลาดำหนึ่งแสนตัวมาที่นี่ เรือขนส่งขับช้ามาก พวกเขาออกจากมาโฮนเบย์เมื่อตอนเช้า จวบจนตกเย็นเพิ่งจะมาถึงเขตฟาร์มปลา
นิโค ตู้ยืนอยู่ที่หัวเรือพลางมองสำรวจบรรยากาศของฟาร์มปลา เขามองดูทรายสีขาวหิมะละเอียดบนหาดฟาร์มปลาแล้วส่ายหน้าไม่หยุด น้อยมากที่แคนาดาจะมีชายหาดสวยงามขนาดนี้ อย่างมาโฮนเบย์ที่เขาอยู่ ชายหาดก็คดเคี้ยวมาก
ฉินสือโอวรอรับเขาที่ท่าเรือ พอนิโค ตู้ลงเรือก็อุทานออกมาในขณะที่มองดูท่าเรือที่ทอดยาว “พระเจ้า ช่างดูยิ่งใหญ่จริงๆ เป็นครั้งแรกที่ผมเห็นท่าเรือแบบนี้ที่ฟาร์มปลาส่วนตัว คุณคงทุ่มเงินไปเยอะเลยใช่ไหมครับ?”
ฉินสือโอวพูดยิ้มๆ “โอ้ ก็ไม่เท่าไร ประเด็นคือผมจำเป็นต้องใช้ ดูสิ ตอนนี้ที่คุณมาส่งลูกกุ้งก็เข้าจอดเทียบท่าได้เลย สะดวกจะตาย”
นิโค ตู้ทำปากพะงาบๆ เขาก็รู้ดีว่าสะดวก แต่ประเด็นคือค่าใช้จ่ายมหาศาล สร้างท่าเรือที่ฟาร์มปลาตัวเอง? เอาเถอะ เขาแค่คิดเล่นๆ ก็พอ
ลูกกุ้งอยู่ในกล่องเพาะเลี้ยงกับเพื่อนๆ นิโค ตู้อธิบายว่าในหนึ่งกล่องมีลูกกุ้งห้าร้อยตัว บนเรือมีทั้งหมดสองร้อยกล่อง ให้เขาไปตรวจดู
ฉินสือโอวพยักหน้า ชาวประมงที่รออยู่นานแล้วก็ขึ้นไปสุ่มตรวจดูลูกกุ้ง ไม่ใช่แค่ตรวจจำนวนเท่านั้น ยังต้องตรวจดูความกระฉับกระเฉงและอาการเจ็บป่วยด้วย โดยเฉพาะเรื่องอาการป่วยที่ต้องตรวจเข้มงวดหน่อย ถ้าเกิดว่าเอาแบคทีเรียอันตรายเข้ามาในฟาร์มก็วุ่นวายกันพอดี
เรื่องนี้แซนเดอร์สกับทิญารับผิดชอบอยู่ พวกเขาเตรียมบีกเกอร์ มาหลอดทดลองและตัวทำปฏิกิริยาเป็นกอง คอยเขย่าและตรวจดูผลไม่หยุด ทิญายังเอาสไลด์มาส่องใต้กล้องจุลทรรศน์ด้วย จริงจังมาก
นิโค ตู้พูดขำๆ “นี่เพื่อน ผมต้องยอมรับเลยว่า ที่นี่เป็นความผสมผสานระหว่างฝ่ายวิชาการกับฝ่ายลงสนาม ที่มีแบบแผนจริงๆ เทียบกับคุณแล้วฟาร์มปลาคาร์เตอร์กลายเป็นมือสมัครเล่นไปเลย”
นึกถึงเจ้าของฟาร์มปลาใหญ่แห่งที่สองที่เก๊กไม่สำเร็จจนเสียหน้าแทน ฉินสือโอวก็ถามอย่างสนใจ “ลูกกุ้งที่คาร์เตอร์ซื้อ คุณเอาไปส่งให้เขาหรือยังครับ?”
นิโค ตู้ยักไหล่แบบจนใจ “ใช่ ไปส่งให้แล้ว ให้ตายเถอะ ต่อไปผมคงไม่ทำธุรกิจกับเขาแล้ว เจ้านั่นน่ะขี้เหนียวมาก ผมทนไม่ไหวหรอก”
จากนั้นนิโคก็บ่น เพราะฟาร์มของเขากับคาร์เตอร์ห่างกันไม่มาก พอกลับไปเขาก็จ้างเรือขนส่งเพื่อไปส่งลูกกุ้งให้เขา
ตามหลักการแล้ว ค่าขนส่งทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันรับผิดชอบ แต่คาร์เตอร์กลับไม่ยอม เขาให้นิโครับผิดชอบค่าขนส่งแถมยังให้เขารับผิดชอบภาษีสำหรับธุรกรรมนี้ด้วย
ตอนนั้นนิโคโมโหมาก ค่าขนส่งเดิมทีก็ควรจะเป็นทั้งสองฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบ เรื่องอะไรให้เขารับไปคนเดียว? นอกจากนั้นยังมีภาษีอีก นี่ยิ่งเป็นเรื่องที่ฝ่ายคนซื้อต้องจัดการ เขาก็ต้องจ่ายภาษี ทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องจ่ายภาษี เรื่องอะไรให้เขารับผิดชอบคนเดียว?
คาร์เตอร์ปัดความรับผิดชอบ เขาใช้ประโยชน์จากสัญญาการประมูล บอกว่าถ้าไม่ยินยอมรับผิดชอบก็จะยกเลิกการซื้อขาย
“ผมจะยกเลิกสัญญากับเขาได้อย่างไร? ฮ่ะ ต่อให้ผมลดครึ่งราคาผมก็จะขายให้เขา ลูกกุ้งขายได้ในราคากุ้งเต็มวัย ทั้งชีวิตนี้ผมคงเจอได้เพียงครั้งเดียว” นิโคพูดไปก็หัวเราะร่าออกมา
ฉินสือโอวยิ้มบางๆ แล้วพูดขึ้น “เจ้านี่ก็ขี้เหนียวเกินจริงๆ”
นิโคบ่นต่อไปอีก “แค่ขี้เหนียวที่ไหน ยังเจ้าเล่ห์อีกต่างหาก พอลูกกุ้งของผมส่งไปถึง เขาไม่ได้สุ่มตรวจ แต่ตรวจทีละกล่อง กุ้งตายสักตัวก็ไม่เอา”
ลูกกุ้งอยู่ในกล่องเพาะเลี้ยงจะตายง่าย คาร์เตอร์ตรวจดูทีละตัวๆ แบบนี้เปลืองเวลามาก ยิ่งผ่านไปนานลูกกุ้งก็จะตายเยอะขึ้น แล้วเขาไม่รับกุ้งตายแล้วก็ไม่ทำการซื้อขายกันครั้งหน้าด้วย ที่ส่งมาห้าหมื่นตัวมีรอดกี่ตัวเขาก็เอาไป
ฉินสือโอวพูด “เจ้านี่ได้เปรียบเห็นๆ ถ้าเป็นอย่างที่คุณบอกเขาก็เจ้าเล่ห์จริงๆ”
นิโคจนใจ แต่ไม่นานเขาก็อารมณ์ดีขึ้นมาอีก “ลูกกุ้งที่ตายไปก็ไม่เยอะ ผมก็ได้เงินจากเขาไปเยอะ ก็ถือว่าดีมากแล้วไม่ใช่เหรอครับ?”
ทั้งสองคุยกันไป พวกชาวประมงก็ตรวจเสร็จแล้วจึงมารายงานผล
………………………………………………….